Skanderbeg Square จัตุรัสในแอลเบเนีย

เมื่อเอ่ยถึงแหล่งท่องเที่ยวในยุโรป ที่ใครหลายคนต่างใฝ่ฝันอยากไปดื่มด่ำความสุข ก็คงต้องเป็นประเทศที่มีชื่อเสียง อย่างประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน รวมไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนอันน่ามหัศจรรย์ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ กันใช่ไหมละครับ แต่อีกหนึ่งประเทศ ที่มีชื่อว่า Albania (แอลเบเนีย) แม้จะเป็นประเทศที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากนัก แต่บอกเลยว่าดินแดนแห่งนี้มีอะไรมากมายให้ได้ลองไปสัมผัส โดยเฉพาะ Skanderbeg Square จัตุรัสใจกลางเมืองหลวง ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และความสวยงามของบริเวณพื้นที่โดยรอบ แน่นอนว่าวันนี้เราจะอาสาไปรีวิวสถานที่แห่งนี้ให้ทุกท่านได้รับชมรับฟังกัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับหลายๆท่านที่กำลังอยากจะเดินทางมาเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ณ Skanderbeg Skanderbeg Square ตั้งอยู่ที่เมืองติรานา (เมืองหลวงของประเทศแอลเบเนีย) เป็นลานจัตุรัสใจกลางเมืองหลวงเนื้อที่กว่า 40,000 ตารางเมตร สร้างขึ้นเอาไว้เพื่อทำกิจกรรมของชาวเมือง โดยบริเวณพื้นลานจะถูกปูด้วยหินสีสันต่างๆ จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแอลเบเนีย ชื่อของจัตุรัสถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติเชิดชูแก่ Gjergj Kastrioti Skenderbeu (Skanderbeg) วีรบุรุษของชาติผู้ต่อต้านชาวออตโตมัน ทำให้ตรงกลางของจัตุรัสจึงมีอนุสาวรีย์ของท่าน อย่าง Skanderbeg Monument ตั้งอยู่ เป็นสัญลักษณ์รูปปั้นที่โดดเด่นด้วยความสูง 11 เมตร สถานที่แห่งนี้ถือว่าค่อนข้างเงียบสงบ ผู้คนไม่เยอะ ในช่วงตอนเย็นบรรดาผู้คนจะนิยมออกมาพบปากพูดคุยกัน นอกจากนี้ลานจัตุรัสยังถูกล้อมรอบไปด้วยอาคารที่สำคัญของประเทศมากมาย อาทิเช่น National Museum…

อาหารประเทศแอลเบเนีย เป็นอย่างไร

ประเทศแอบเบเนีย เป็นประเทศที่เรารู้จักกันน้อยมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่านี้คือประเทศที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าไรนักทางยุโรป ขนาดก็เล็ก แถมยังมีข่าวไม่ดีออกมาตลอดเวลา เลยทำให้เราไม่ค่อยอยากสนใจเท่าไร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราจะขอนำเสนออาหารประเทศแอลเบเนียว่าเป็นอย่างไร เขากินกันอย่างไร มีอะไรกินบ้าง ลักษณะโดยทั่วไปของอาหาร ตามภูมิศาสตร์ประเทศแอลเบเนียตั้งอยู่ใกล้กับคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งมันไม่ไกลจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่าไรนัก ทำให้ประเทศนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนมาเยอะมาก อาหารของเขาจึงเป็นสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน เน้นพวกนม ผัก ปลา ผลไม้ บนโต๊ะอาหาร อีกทั้งประเทศเขามีความอุดมสมบูรณ์เลยมีของพวกนี้เยอะทั้งในแง่ของปริมาณ และความหลากหลายอีกด้วย ผลไม้ชื่อดังของแอลเบเนีย ผลไม้จัดว่าเป็นทั้งอาหารเลี้ยงคนในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้เข้าประเทศด้วย ผลไม้เด่นของพวกเขาต้องเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นหลัก อย่าง เชอร์รี่สตรอเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่ พวกเขามักจะนำผลไม้เหล่านี้เป็นทั้งอาหารสด ของว่าง และแปรรูปเป็นขนมหวาน นอกจากนั้นยังมีผลไม้ของแอลเบเนียอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น แอปเปิ้ล, องุ่น, มะกอก, ส้ม, มะเดื่อ ฯลฯ สมุนไพรใส่เต็มจาน ไม่ได้มีแต่อาหารไทยเท่านั้นที่เน้นเรื่องของสมุนไพร อาหารของแอลเบเนียเองก็เน้นวัตถุดิบเป็นสมุนไพรด้วยเช่นกัน ยิ่งประเทศนี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตยิ่งทำให้มีสมุนไพรเยอะเป็นพิเศษเลย ยกตัวอย่างเช่น ออริกาโน(อันนี้ตัวหลักของอาหารหลายอย่างในแอลเบเนีย) โหระพา, ซัลเวีย, โรสแมรี่, พริก, อบเชย, ลาเวนเดอร์ ฯลฯ เรียกได้ว่าใส่กันมาเต็มที่เต็มจาน เครื่องดื่มหลักของชาวแอลเบเนีย พูดถึงอาหาร ไม่พูดถึงเครื่องดื่มก็คงจะไม่ได้ ประเทศนี้มีเครื่องดื่มหลักอยู่สองอย่าง…

อัลบาเนีย ประเทศนี้ไม่มีมุสลิม จริงหรือ

ทุกประเทศนอกจากจะต้องมีประชากรแล้ว ประชากรแต่ละประเทศยังมีความเชื่อของตัวเองอีกด้วย ประเทศแอลเบเนียมีความขัดแย้งอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ประเทศนี้ตั้งอยู่ในเขตยุโรป มีความเชื่อทางด้านศาสนาอิสลามแต่ทำไมเขาถึงบอกกันว่าประเทศนี้ไม่มุสลิมที่หมายถึงผู้นับถือศาสนาอิสลามเลย มันเป็นยังไงกันแน่ เรามาไขข้อข้องใจตรงนี้กัน ประเทศอิสลามที่ไม่ใช่อิสลาม ต้องบอกก่อนว่า ประเทศแอลเบเนีย ทำไมถึงบอกว่าประเทศนี้ประกาศตัวเป็นมุสลิมแต่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมจริงๆ กล่าวคือหากเราไปประเทศนี้ตัวเมืองหลวง เราจะไม่คุ้นเคยเลย ประเทศนี้มีมัสยิด หรือ ศาสนาสถานทำพิธีกรรมของชาวอิสลามน้อยมากจนกลายเป็นสิ่งที่หายากในประเทศนี้เลยก็ว่าได้ มองไปทางผู้หญิงก็ไม่มีใครสวมฮิญาบ(ที่คลุมศรีษะ)สักคนเดียว หรือ ร้านอาหารพวกเขาก็รับประทานอาหารด้วยเนื้อหมูกันอย่างปกติเหมือนไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร อิสลามแต่ชื่อ สิ่งเดียวที่ทำให้เรารู้ว่า ประเทศนี้คือประเทศอิสลามอยู่ก็คือ คนในประเทศนี้มีชื่อเป็นศาสนาอิสลาม มีชื่อเป็นภาษาอาราบิก แต่เอาเข้าจริงต้องบอกว่าเขาเป็นอิสลามแต่เพียงชื่อเท่านั้น เพราะว่าพวกเขาไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับศาสนาอิสลามเลย ไม่ได้ศึกษาพระคัมภีร์ตามหลักศาสนาอิสลามด้วยซ้ำ เรียกว่ามีเพียงชื่อเท่านั้นก็ใช่ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อาจจะฟังดูแปลกแต่นี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศแอลเบเนีย หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ขอเล่าสั้นๆ ดังนี้ว่าความเชื่อทางศาสนาอิสลามเข้ามาในพื้นที่ประเทศนี้ในยุคความรุ่งเรืองของจักรวรรดิออตโตมัน แต่หลังจากอาณาจักรออตโตมันล่มสลายลง ประเทศเจอความเปลี่ยนแปลงมากมายทางการเมือง ใครต่อใครต่างเข้ามาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนี้ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเปลี่ยนผู้นำเหมือนเกมเก้าอี้ดนตรีทีเดียว ข้อสำคัญก็คือ การปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ทำให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม ทำให้ความเชื่อทางศาสนาอิสลามที่เคยยึดถือกันมาตลอดนั้นค่อยๆ ทลายลงไปเรื่อยจนกลายเป็นเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน คนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ แต่ใช่ว่าความเชื่อศาสนาอิสลาม จะหมดไปเสียทั้งหมด คนรุ่นเก่าของแอลเบเนียบางส่วนยังมีความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านศาสนาอิสลามอยู่พวกเขายังทำกิจกรรมตามหลักศาสนาอิสลามและความเชื่อที่ได้รับสืบทอดมา แต่คนรุ่นใหม่กลับไม่เป็นแบบนั้น พวกเขาเลือกที่จะไม่มีศาสนามากขึ้น แม้แต่โรงเรียนก็ไม่มีการบังคับให้เรียนวิชาเกี่ยวกับศาสนา ยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่กับความเชื่อทางศาสนาน้อยลงไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่ง